Alumni

The Next Normal ก้าวสู่ “ชีวิตวิถีถัดไป” หลังโควิด-19

The Next Normal ก้าวสู่ “ชีวิตวิถีถัดไป” หลังโควิด-19 
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศไทยและทั่วโลกอย่างมาก ทำให้เกิด “New Normal” หรือ “ชีวิตวิถีใหม่” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิถีชีวิตให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี การใช้บริการดิจิทัลใหม่ ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต เช่น การประชุมออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ การทำธุรกิจออนไลน์ การให้บริการทางการแพทย์แบบวิถีใหม่ เป็นต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันเหมือนเดิม ซึ่งเราเรียกรูปแบบการใช้ชีวิตนี้ว่า “The Next Normal” หรือ “ชีวิตวิถีถัดไป” คือ พฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนซึ่งเปลี่ยนไปหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยได้มีการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 และสามารถปรับตัวให้เข้าบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้แล้ว ความสามารถในการปรับตัวสะท้อนให้เห็นผ่านเทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal ดังต่อไปนี้

 

 

เทรนด์ Stay-at-home Economy
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้คนใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้นและนิยมทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างสะดวกสบาย เทรนด์ดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Stay-at-home Economy หรือระบบเศรษฐกิจการใช้จ่ายและการบริโภคภายในบ้าน (In-home Consumption) เช่น การพบปะสังสรรค์ผ่านแอปพลิเคชัน การทำธุรกิจ e-commerce การบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน การชอปปิ้งผ่านออนไลน์ และการเลือกซื้อสินค้าผ่านประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) นอกจากนี้เทรนด์ Stay-at-Home Economy ยังส่งผลให้กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ หันมาพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์ Stay-at-Home Economy เพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย

 

 

 

เทรนด์ Touchless Society
การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ “มาตราการรักษาระยะห่างทางสังคม” ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อลดการสัมผัสและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 อย่างเทคโนโลยีเซนเซอร์ เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง (voice recognition) เช่น ประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ ชักโครกอัตโนมัติ รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเทคโนโลยี mobile banking แทนการไปธนาคาร กล่าวได้ว่าโควิด-19 ส่งผลให้ “Touchless Society” หรือ “สังคมไร้การสัมผัส” เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่โลกคาดการณ์ไว้

 

 

เทรนด์ Regenerative Organic
ในยุค Next Normal ผู้คนยังตระหนักถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเกษตร ซึ่งในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เรียกว่า “regenerative organic” ซึ่งรับรองผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเกษตรนั้น ๆ ปลอดภัยสารเคมี ครอบคลุมถึงคุณภาพชีวิตเกษตรกร ความยุติธรรมด้านค่าแรงของเกษตรกร รวมทั้งกระบวนการทำการเกษตรนั้นเป็นมิตรต่อดินและคำนึงถึงความยั่งยืน 

 

อย่างไรก็ตาม การก้าวสู่ “Next Normal” หรือ “ชีวิตวิถีถัดไป” หลังโควิด-19 นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและร่วมพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม มีการคำนึงถึงประเด็นสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
 

ที่มา :
https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal 
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx 
https://thaipfa.co.th/news/view/192 
https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4164/ 
https://www.walkme.com/glossary/next-normal/ 


19 เมษายน 2565


ถ่ายภาพ -
แต่งภาพ -

You might be interested

Alumni

โครงการ “เชิดชูครูกฎหมาย" ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์

ศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิปรีดี เกษมทรัพย์ ได้จัดโครงการ “เชิดชูครูกฎหมาย" ศาสตร... อ่านต่อ

Alumni

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีกับ คุณธนาธิป พิเชษฐวณิชย์โชค

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีกับ คุณธนาธิป พิเชษฐวณิชย์โชค... อ่านต่อ

Alumni

TU Law Run วิ่งลอว์รัน นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 2024

ภาพบรรยากาศกิจกรรม TU Law Run วิ่งลอว์รัน นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร... อ่านต่อ